9 สิ่งที่ Startup ควรรู้ก่อนคิดบุกตลาดจีน
1.ไปเห็นประเทศจีนด้วยตาคุณเอง
การศึกษาตลาดเพียงแค่การเรียนหรือคำบอกเล่าอาจไม่เพียงพอ คุณจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในลักษณะของลูกค้าและเรียนรู้คู่แข่งว่ามีการคิดอย่างไรงานวิจัยต่างๆอาจจะล้าสมัยไปแล้วเพราะหลายๆสิ่งในจีนนั้นพัฒนาไปอย่าง รวดเร็ว ดังนั้นคุณควรหาข้อมูลจากสถานที่จริง ตัวอย่างเช่น สภาหอการค้าไทยในประเทศจีน
2.มองหาตลาดที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ
ศึกษาสถานที่ที่อยากเข้าไปตีตลาด เชื่อมต่อกับประเทศไหนตลาดเหมาะกับดิจิทัลหรือไม่ หากใช่คุณอาจต้องเลือกดำเนินธุรกิจออนไลน์ให้ความสำคัญกับ e-commerce และมีหน้าร้านเพื่อขยายประสบการณ์แก่ลูกค้า
3.สร้างตัวตนแบรนด์
หากคุณไปบุกตลาดจีน มีโอกาสเป็นไปได้ว่าจะมีคู่แข่งที่มีสินค้าเหมือนกันอยู่แล้ว แต่อย่าเพิ่งกลัวลูกค้าชาวจีนมีความหลากหลายและมีความรู้ในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพให้แก่ตัวเองถ้าคุณสร้างความเชื่อมั่นในเเบรนด์ได้ ลูกค้าก็จะอยู่กับคุณตลอดไป
4.เตรียมตัวให้พร้อม
ไม่ใช่ทุกที่ในประเทศจีนที่จะมีความเจริญอย่างไรก็ตามหากคุณสามารถเข้าใจตลาดที่กำลังพัฒนาก็เป็นเรื่องไม่ยากที่จะสร้างผลกำไรกลับคืนมาได้ คุณไพจิตรแนะนำว่าหากเป็นธุรกิจครอบครัวหรือ Startup อย่างน้อยควรส่งใครสักคน มาศึกษาที่ประเทศจีนก่อนที่จะเข้ามาบุกตลาดเพราะมันต้องใช้เวลาศึกษา ดูว่าใครคือคู่ค้าที่ดีหรือ ใครที่จะมาโกงคุณ เพราะทุกอย่างในตลาดมีการปรับเปลี่ยนที่รวดเร็วคุณจำเป็นต้องรู้แล้วปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
5.เทแรงกายและแรงใจให้กับธุรกิจ
หากคุณไม่พร้อม ลูกค้าชาวจีนมีความคาดหวังในบริการและสินค้าสูง ซึ่งแบรนด์จีนก็ทุ่มสุดตัวเพื่อดึงลูกค้าให้มาใช้บริการ ยกตัวอย่างเช่น Hai Di Lao หม้อไฟ ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องการเอาใจลูกค้าที่กำลังรอคิวเพื่อทานอาหารไม่ให้เบื่อหน่ายการรอคอย โดยทางร้านจะมีบริการเกมสำหรับเด็กๆ และบริการขัดรองเท้าสำหรับผู้ใหญ่ และมี สวัสดิการจัดหาแม่บ้านให้พนักงานที่ร้านเพื่อให้พนักงานตั้งใจทำงานที่ร้านอาหารโดย ไม่ต้องกังวลถึงภาระที่บ้านอีกด้วย
6.จดทะเบียนธุรกิจของคุณ
อย่าลืมจดทะเบียนธุรกิจของคุณทันที แม้นักวิชาการชาวไทยจะชอบแนะนำให้เลี่ยงการตั้งชื่อบริษัทเป็นภาษาจีน เพราะกลัวมันจะลดคุณค่าแบรนด์ลง แต่ คุณไพจิตร กล่าวว่า "ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ยังไงเขาก็จะมอบชื่อจีนให้คุณอยู่ดีเมื่อคุณเข้าไปในจีน" ดังนั้นมันจะดีกว่าถ้าคุณตั้งชื่อจีนไปเลย แม้แต่ แบรนด์ใหญ่ๆ ยังมีชื่อจีนเลย ตัวอย่างเช่น McDonald’s เป็น Mai-dang-Lao, Starbucks เป็น Xin-Ba-Ke และ Coca-Cola เป็น Ke-Kao-Ke-Le
7.ก้าวสู่ดิจิทัล
เริ่มใช้ข้อดีจากโลกดิจิทัลเหมือนที่กล่าวไปก่อนหน้าว่าตอนนี้สมาร์ทโฟนมีค่ามากกว่ากระเป๋าเงินเสียอีก อีกทั้ง Big Data เองก็เป็นเรื่องที่สำคัญ แบรนด์ไทยก็เริ่มปรับเปลี่ยนเข้าสู่โลกดิจิทัลแล้ว ตัวอย่างเช่น Snail White มี QR code ที่รับประกันคุณภาพสินค้า หรือ Malee ที่ใช้ Social media ในการทำโฆษณา
8.ทำสิ่งที่ถนัด
อย่าพยายามทำในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง ให้ทำในสิ่งที่เราถนัดหรือทำได้ดี ถ้าหากเรามีสินค้าที่อาจถูกลอกเลียนแบบได้ง่ายแต่เรามีคุณภาพและมีเอกลักษณ์ ผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่ก็จะเลือกเรา ตัวอย่างเช่นคนจีนชอบมากิน MK กับ After you ที่ไทยแม้ที่ประเทศจีนก็มีหม้อไฟและขนมหวานเช่นกัน
9.ความรับผิดชอบต่อสังคม
ไทยและจีนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเหมือนครอบครัว เราสามารถใช้ประโยชน์จากจุดนี้ คืนประโยชน์ให้แก่ชาวจีนเพื่อเป็นความสร้างมั่นใจแก่ชาวจีน
แหล่งที่มา https://techsauce.co/tech-and-biz/9-things-startups-ecosystem-china
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
0คน
ปรบมือ
0คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม