แรงงาน MOU
แรงงาน MOU
การเข้ามาในประเทศไทยของแรงงานต่างด้าว เกิดจากการชักชวนโดยญาตหรือเพื่อนและนายหน้า ส่วนใหญ่เข้ามาตามแนวชายแดนซึ่งไทยมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา ลาว และเมียนมา)
คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานภายใต้ MOU
เป็นการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (Memorandum of Understanding:MOU) เพื่อให้มีขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และมีการส่งกลับประเทศต้นทางเมื่อครบวาระการจ้างงาน อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันมีการลงนาม MOU กับ 4 ประเทศ คือ เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ตำแหน่งงานที่อนุญาตนำเข้าภายใต้ MOU คือ กรรมกร และ รับใช้ในบ้าน
กิจการที่อนุญาตให้จ้างคนต่างด้าวทำงาน
สัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา อนุญาต 25 กิจการ ยกเว้นกิจการจ้างเหมาแรงงาน
สัญชาติเวียดนาม อนุญาต 2 กิจการ ก่อสร้างและประมงทะเล
ระยะเวลาที่อนุญาตให้เข้ามาทำงาน
1. ระยะแรก จะอนุญาตให้ทำงานไม่เกิน 2 ปี
2. ต่ออายุได้อีกครั้งละไม่เกิน 2 ปี
รวมระยะเวลาเข้ามาทำงาน 1 ครั้ง ไม่เกิน 4 ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 4 ปี หากต้องการทำงานต่อ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนและต้องเว้นวรรค 30 วัน
การนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย กระทำได้ 2 กรณี
1. มอบให้ผู้รับอนุญาต เป็นคนนำเข้ามาทำงาน นายจ้างต้องทำสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงาน ชำระค่าบริการและค่าใช้จ่าย(ยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของคนต่างด้าว)
2. นายจ้างนำเข้ามาทำงานด้วยตนเอง นายจ้างต้องวางหลักประกัน กรณีที่เกิดความเสียหายจากการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน
การวางหลักประกันของนายจ้าง
1. เงินสด พันธบัตรรัฐบาล หรือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร
2. คนต่างด้าวไม่เกิน 99 คน วางเงิน 1,000 บาท ต่อ 1 คน
3. คนต่างด้าวตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป วาง 100,000 บาท
กรณีมอบให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการ
นายจ้างต้องทำสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงาน (ไม่ต้องวางเงินประกัน)
จ่ายค่าบริการร้อยละ 10-2 5(คนน้อยจ่ายมาก)
ร้อยละ 25 ไม่เกิน 12 คน,ร้อยละ 20 ไม่เกิน 45 คน ,ร้อยละ 15 ไม่เกิน 90 คน,ร้อยละ 10 ตั้งแต่ 91 คนขึ้นไป
จ่ายค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดหรือที่นายจ้างแสดงเจตนา เช่นค่าจัดเตรียมเอกสาร ค่าพาหนะเดินทาง
สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัวของคนต่างด้าว นายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบ
การอบรมก่อนทำงาน
เมื่อนายจ้างนำคนงานเข้าประเทศไทยผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ให้นำคนงานเข้ารับการอบรมที่ศูนย์แรกรับและสิ้นสุดการจ้าง
ขอรับใบอนุญาตทำงาน
คนต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ นำใบรับรองแพทย์ไปรับใบอนุญาตทำงาน ณ สจจ./สจก. ที่ยื่นคำร้อง ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร(วันที่ ตม.ประทับตราอนุญาต)
สิ้นสุดวาระการจ้าง
คนงานเดินทางกลับประเทศต้นทางก่อนวีซ่าหมดอายุ
เดินทางเข้าศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง เพื่อพักรอและตรวจสอบสิทธิที่พึงจะได้รับก่อนกลับประเทศ
กรณีนายจ้างต้องการจ้างกลับเข้ามาทำงานใหม่ ให้ยื่นคำร้องล่วงหน้าและคนงานจะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง 30 วัน ก่อนเข้ามาทำงานใหม่
การคืนเงินหลักประกันของนายจ้าง ในกรณี ดังนี้
1. คนต่างด้าวไม่ได้เดินทางเข้ามาทำงานกับนายจ้าง
2. คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาทำงานกับนายจ้างจนครบสัญญาและเดินทางกลับประเทศต้นทาง
3. คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาแล้วตรวจโรคไม่ผ่าน ไม่สามารถขอใบอนุญาตทำงานได้ จะต้องเดินทางกลับประเทศ
4. คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาแล้ว ทำงานไม่ครบวาระจ้างงาน 4 ปี ได้รับการเปลี่ยนนายจ้าง
ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน
หากสนใจจ้างแรงงาน MOU สามารถติดต่อสอบทาง TMA ได้เลยค่ะ
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
0คน
ปรบมือ
0คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม