ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเปิดบริษัทในประเทศไทย สำหรับชาวต่างชาติ

Yo การเข้าชม: 121 2024-04-09 09:13:23 ความคิดเห็น: 0

งานTMA (2).jpg




การที่ชาวต่างชาติจะมาเปิดธรุกิจหรือบริษัทในประเทศไทยได้จําเป็นต้องรู้กฎระเบียบข้อบังคับอย่างเป็นขั้นตอนและถูกต้อง ในการที่ชาวต่างชาตินั้นต้องการที่จะมาทําธุรกิจเปิดบริษัทในไทย ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49  แต่หากชาวต่างชาติต้องการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทในการลงนามเอกสารต่างๆ ต้องแสดงบัญชีเงินฝาก เป็นจำนวนเงินที่สมดุลกับจำนวนเงินลงทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว แต่หากไม่ต้องการจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ก็ไม่ต้องแสดงบัญชีเงินฝากใดๆ เพียงเท่านี้การเปิดบริษัทในไทยก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่ควรทำการตกลงให้ชัดเจนระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเกี่ยวกับเงินทุนจดทะเบียนดังกล่าว




โดยรัฐบาลไทยได้แบ่งประเภทธุรกิจที่ห้ามไม่ให้ชาวต่างชาติทําในประเทศไทยโดดเด็ดขาด

มี 3 ประเภท ดังต่อไปนี้


  • ธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจ ด้วยเหตุผลพิเศษ

  • ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว


หากต้องการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ถือหุ้นที่ได้รับการเสนอชื่อ 

ในขณะที่ยังสามารถมีส่วนร่วมในการควบคุมธุรกิจโดยตรงได้



 งานTMA (4).jpg



และธุรกิจที่ต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศในประเทศไทย มี 6 ประเภทดังนี้


  1. สำนักงานตัวแทนต่างประเทศ เป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่จดทะเบียนโดยไม่มีการถือหุ้นบริษัทใหญ่ในต่างประเทศและไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศ สำนักงานตัวแทนไม่สามารถประสานงานใด ๆ ได้และไม่สามารถมีรายได้จากการให้บริการได้ แต่จะได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักงานใหญ่ที่ต่างประเทศเท่านั้น 

  2. เปิดสาขาที่ประเทศไทย สำนักงานสาขาในประเทศไทยทำงานแบบเดียวกับบริษัทจำกัดไม่มีผู้ถือหุ้นหรือกรรมการ เนื่องจากไม่ได้เป็นบริษัทที่จดทะเบียน แต่เป็นสาขาในท้องถิ่นของสำนักงานใหญ่ต่างประเทศ ต่างจากสำนักงานผู้แทนต่างประเทศและสำนักงานภูมิภาค สามารถมีรายได้จากการประกอบธุรกิจได้ หรือ ได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักงานใหญ่ก็ได้

  3. บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยมีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ บริษัทที่จดทะเบียนในไทยโดยมีคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ถือหุ้นไม่เกิน 49% (เป็นบริษัทสัญชาติไทย ประกอบกิจการได้ทุกอย่างตามกฏหมายกำหนด) และบริษัทที่มีคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ถือหุ้น 100% หรือเกิน 50% (เป็นบริษัทต่างด้าว ต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าว)

  4. บริษัทจากประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทที่จดทะเบียนในไทยหรือสหรัฐอเมริกาโดยมีสัญชาติสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการในบริษัทอาจขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจจาก

  5. บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) บริษัทที่จดทะเบียนในไทยที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทย ดูจากลักษณะธุรกิจของบริษัทอาจได้รับใบอนุญาตเป็นสำนักงานที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของกิจการในประเทศไทยอย่าง 100%

  6. บริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดต่างประเทศหรือหุ้นส่วนที่ทำธุรกิจในประเทศไทยสามารถประกอบธุรกิจบางอย่างได้ เมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทย

หมายเหตุ : หากขออนุญาตธุรกิจต่างประเทศไม่ผ่านหรือถูปปฏิเสธ  กระทรวงพาณิชย์จะแจ้งให้ทราบภายใน 15 วันทำการ โดยระบุสาเหตุทีการยื่นขอใบอนุญาตถูกปฏิเสธไว้อย่างชัดเจน  และอีกกรณีหนึ่งหากถูกปฏิเสธสามารถอุทธรณ์คำตัดสิน การยื่นอุทธรณ์จะต้องยื่นภายใน 30 วันหลังจากได้รับแจ้งการปฏิเสธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์ภายใน 30 วันหลังจากได้รับ คำวินิจฉัยของถือเป็นที่สุด



งานTMA (5).jpg


อ้างอิงข้อมูลจาก 

  • FBL

  • Interloop


Facebook-Management YouTube Facebook-Consultant Facebook-Recruitment
คุณมองเห็นเรื่องนี้อย่างไร
  • ร้องไห้

    0คน

  • ไม่สำคัญ

    0คน

  • ดีใจ

    0คน

  • ปรบมือ

    0คน

  • น่ากลัว

    0คน

ประกาศ

1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม

แสดงความคิดเห็น
ค้นหา
อันดับความนิยม
เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้
รายการแท็ก
    ติดตามเรา

    สแกนเพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

    ความคิดเห็นล่าสุด

      เจอปัญหา? กรุณาทิ้งข้อความไว้

      กรุณากรอกหมายเลขโทรศัพท์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถติดต่อกลับ