สิทธิของผู้ต้องหา
สิทธิของผู้ต้องหา
๑. พบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง
๒. ได้รับการเยี่ยมตามสมควร
๓. ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
๔. มีสิทธิไม่ให้การใดๆ ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
การขอผัดฟ้อง - ฝากขังต่อศาล
กรณีที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมีเหตุจำเป็นต้องควบคุมผู้ถูกจับกุมเกินกว่าเวลาตามกฎหมาย ต้องยื่นคำขอผัดฟ้องหรือฝากขังต่อศาล ซึ่งศาลจะสอบถามผู้ต้องหาว่าจะคัดค้านหรือไม่ แล้วใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่ง
๑.ความผิดที่เกิดขึ้นและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง (คดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
พนักงานอัยการจะต้องฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ (ไม่นับรวมเวลาที่ผู้ต้องหาเดินทางจากที่จับไปยังสถานีตำราจและจากสถานีตำรวจหรือจากที่ทำการพนักงานอัยการตามปกติ) แต่ถ้าไม่อาจฟ้องผู้ต้องหาภายในเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ต้องนำตัวผู้ต้องหามาศาลและยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลได้ไม่เกิน ๓ คราว คราวละไม่เกิน ๖ วัน
ในกรณีที่ศาลผัดฟ้องครบ ๓ คราวแล้ว หากมีเหตุจำเป็น พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการอาจยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยต้องนำพยานมาเบิกความจนเป็นที่น่าพอใจแก่ศาลว่ามีเหตุจำเป็น ศาลจึงจะสั่งให้ผัดฟ้องต่อไปได้อีกไม่เกิน ๒ คราว คราวละไม่เกิน ๖ วัน
๒. ความผิดที่เกิดขึ้นและอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัด (คดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกเกินกว่า ๓ ปี หรือปรับเกิน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
๒.๑ กรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๖ เดือน แต่ไม่ถึง ๑๐ ปี สามารถฝากขังได้ไม่เกิน ๔ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๑๒ วัน รวม ๔๘ วัน
๒.๒ กรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๑๐ ปี ขึ้นไป สามารถฝากขังได้ไม่เกิน ๗ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๑๒ วัน รวม ๘๔ วัน
ในกรณีที่ศาลสั่งขังครบ ๔๘ วันแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอฝากขังต่อไปอีก ต้องนำพยานหลักฐานมาให้ศาลไต่สวนจนเป็นที่น่าพอใจว่ามีเหตุจำเป็น ศาลจึงจะสั่งขังขังต่อไป
Rights of an alleged offender
1. To privately meet and consult with his prospective lawyer;
2. To have reasonable visitation;
3. To have timely access to medication and treatment;
4. To remain silent when interrogated by the police officer.
Deference of the charge and motion for a warrant of detention
In case where the inquiry officer or the public prosecutor has a necessary cause to hold an alleged offender in custody more than a period of time indicated by laws, he shall submit a motion to the court for a detention warrant. In considering the motion, the court will ask the alleged offender whether he has objections or not.
1. Offences committed in the jurisdiction of the Kwaeng Court (offences which provided with the maximum punishment of imprisonment not exceeding three years or fine not exceeding sixty thousand baht, or both).
The public prosecutor shall file a charge with the court within a period of 48 hours from the time the alleged person was arrested (the said period of 48 hours shall not include: (1) the period of time from the departure time from the place of arrest to the arrival time at the police station; and (2) the period of time from the departure time from the police station to the arrival time at the office of the public prosecutor). Otherwise, the inquiry officer or the public prosecutor, as
the case may be, shall apply by motion to the court for a warrant of detention. The court has the power to grant not more than three consecutive remands and each not exceeding six days.
In case where the court has already granted three consecutive remands, the inquiry officer or the public prosecutor may apply by motion to the court for granting further remands by citing the necessary causes and bringing the evidences as may be necessary to satisfy the court. If the court deems appropriate, a further of two consecutive remands not exceeding six days each may be granted.
2. Offences committed in the jurisdiction of the Provincial Court (offences which provide with the maximum punishment of imprisonment exceeding four years or fine exceeding sixty thousand baht, or both).
2.1 In case of offences which provide with the maximum punishment of imprisonment exceeding six months but less than ten years, a warrant of detention may be granted not more than four consecutive remands and each not exceeding twelve days, totalling forty eight days;
2.2 In case of offences which provide with the maximum punishment of imprisonment ten years upwards, a warrant of detention may be granted not more than seven consecutive remands and each not exceeding twelve days, totalling eighty four days.
In case where the court has already granted at full of 48 days, the inquiry officer or the public prosecutor may apply by motion to the court for granting further remands by citing necessary causes and bringing the evidences as may be necessary to satisfy the court. If the court deems appropriate, further remands may be granted.
ที่มา: สำนักการต่างประเทศ สำนักงานศาลยุติธรรม Office of International Affairs, Office of the Judiciary
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
0คน
ปรบมือ
0คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม