เปิดร้านอาหารที่ไทย ในเบื้องต้นต้องขออนุญาตอะไรบ้าง
หากธุรกิจร้านอาหาร และเครื่องดื่ม มีพื้นที่ร้านน้อยกว่า 200 ตร.ม. หรือมากกว่า 200 ตร.ม ต้องแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหาร ที่สำนักงานเขต หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากไม่ปฏิบัติตาม คุณอาจถูกปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ.2535
🥂 ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม 🥂
คือ ธุรกิจที่มีการทำอาหาร เครื่องดื่ม ไอศกรีม ขนมหรือเค้ก โดยมีการขายและ ให้บริการ
เช่น เสิร์ฟให้กินที่ร้าน ตักเองจากชั้นวาง ห่อ หรือสั่งให้จัดส่งถึงบ้าน ทั้งนี้ไม่รวมโรงงานผลิตอาหารที่มีเครื่องจักรอุตสาหกรรม
☀️ หากร้านของคุณมีเจ้าของหรือหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ที่ต้องการแบ่งกำไรและความรับผิดชอบจากธุรกิจนั้นร่วมกัน คุณต้องจดทะเบียนนิติบุคคล
หากไม่ปฏิบัติตามคุณอาจถูกปรับตาม พ.ร.บ.กำหนดความรับผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ พ.ศ.2499
☀️ หากธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มขายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากไม่ปฏิบัติตามคุณอาจถูกปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม
☀️ หากธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มมีการขายของผ่านอินเตอร์เน็ท
เช่น เว็บไซต์ของตัวเอง เว็บไซต์อื่นหรือโซเซียลมีเดีย
คุณต้องจดทะเบียนพาณิชย์ หากไม่ปฏิบัติตามคุณอาจถูกปรับตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499
☀️ หากธุรกิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
คุณต้องให้ผู้สัมผัสอาหาร รวมถึงคนเสิร์ฟและคนล้างภาชนะเข้ารับการอบรมเป็นผู้สัมผัสอาหาร
ซึ่งรวมถึง ผู้เตรียมอาหาร ผู้ปรุงอาหาร ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ลำเลียงอาหาร ผู้ขนส่งอาหาร ผู้เก็บล้างภาชนะอุปกรณ์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
☀️ หากพื้นที่ร้านน้อยกว่า 200 ตร.ม. หรือมากกว่า 200 ตร.ม.
ต้องแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายหรือสะสมอาหาร ที่สำนักงานเขต หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หากไม่ปฏิบัติตาม คุณอาจถูกปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ.2535
☀️หากธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มมีการขายมีการขายเบียร์ ไวน์ เหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น
คุณต้องขออนุญาตขายสุรา หากไม่ปฏิบัติตาม คุณอาจถูกปรับ ตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493
☀️ หากธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มมีก๊าซหุงต้ม มากกว่า 250 กก.(ประมาณ 5 ถังใหญ่)
หากน้อยกว่า 1000 กก.(ประมาณ 20 ถังใหญ่) ต้องแจ้งครอบครองวัตถุอันตราย หากมากกว่า 1000 กก. ต้องขออนุญาตครอบครองวัตถุอันตราย
หากไม่ปฏิบัติตามอาจถูกปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
1คน
ปรบมือ
0คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม