เครื่องหมายการค้า (TRADEMARK)

Yo การอ่าน:258 10-09-2024 14:16:15 ความคิดเห็น:0

เครื่องหมายการค้า (TRADEMARK)

Image_20240910141501 (1).jpg

เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์ที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ เพื่อทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกสินค้าและบริการหนึ่งๆออกจากสินค้าและบริการของผู้ผลิตรายอื่นได้ โดยเครื่องหมายการค้าจะทำให้สินค้าหรือบริการที่มาจากแหล่งหนึ่งมีเอกลักษณ์และแตกต่างจากสินค้าหรือบริการที่มาจากแหล่งอื่น

เครื่องหมายการค้าแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อย คือ 

1. เครื่องหมายการค้า 

2. เครื่องหมายบริการ 

3. เครื่องหมายรับรอง            

4. เครื่องหมายร่วม


หน้าที่ของเครื่องหมายการค้า

         การประกอบธุรกิจโดยปกติแล้วย่อมมีการแข่งขันโดยองค์กรธุรกิจหลายรายดังนั้นแต่ละองค์กรธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความแตกต่างระหว่างสินค้าหรือบริการของตนกับสินค้าหรือบริการของคู่แข่งโดยการสร้างสัญลักษณ์หนึ่งๆ ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งสัญลักษณ์ที่ว่านั่นก็คือ เครื่องหมายการค้า โดยมีหน้าที่สำคัญคือ การทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำและแยกแยะได้ว่าสินค้าหรือบริการของตนมีลักษณะพิเศษที่เฉพาะเจาะจงแตกต่างจากสินค้าหรือบริการอื่นที่เหมือนหรือคล้ายกันของคู่แข่ง เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญ และเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้แก่สินค้าหรือบริการ


เครื่องหมายการค้าคุ้มครองอย่างไร

        หลักการสำคัญในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า คือ เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะได้รับการคุ้มครองโดยการจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายหลังจากได้มีการตรวจสอบแล้วว่าไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้ จดทะเบียนไว้ก่อนหน้าแล้วรวมทั้งไม่ขัดต่อข้อกำหนดตามกฎหมาย ทั้งนี้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจะเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศที่ยื่นขอรับความคุ้มครองและได้รับการพิจารณาให้จดทะเบียนเท่านั้น การได้รับความคุ้มครองในประเทศใดประเทศหนึ่งจะไม่มีผลขยายการคุ้มครองไปยังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่ากรณีใดๆ

การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้สิทธิ ในการป้องกันผู้อื่นจากการทำการตลาดในสินค้าหรือบริการในชนิดหรือประเภทเดียวกัน โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสน หลงผิด ซึ่งจะส่งผลถึงรายได้ขององค์กร และอาจรวมถึงชื่อเสียงและภาพพจน์ด้วย


สิ่งที่นำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า

สิ่งที่นำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน


ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้

1. มีลักษณะบ่งเฉพาะ

2. ไม่เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย

3. ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว

ลักษณะบ่งเฉพาะ หมายความว่า มีลักษณะพิเศษที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวเพียงพอที่จะทำให้ผู้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าหรือบริการอื่น แต่ทั้งนี้ลักษณะพิเศษดังกล่าวต้องไม่สื่อความหมายโดยตรงเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น หรือกล่าวได้ว่า ต้องไม่เป็นคำหรือสิ่งที่ใช้กันสามัญทั่วไปหรือเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าหรือบริการอื่น ไม่เป็นข้อความบรรยายทั่วไป ไม่เป็นคำที่ใช้กันทั่วไป ไม่เป็นคำหรือสิ่งที่ใช้กันสามัญทั่วไป คำหรือข้อความไม่บรรยาย(เล็ง)ถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการ และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์

คำหรือข้อความนั้น ต้องไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง กล่าวคือ ต้องไม่มีความหมายหรือคำแปล หรืออาจสื่อความหมายถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียน ตัวอย่างเครื่องหมายการค้าที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง เช่นคำว่า ดีที่สุด SUPREME GOOD TOP GREAT หรือ BEST เมื่อใช้เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ นับว่าเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า


หากต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สามารถปรึกษาเราได้


ที่มา กรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

 

 


Facebook-Management YouTube Facebook-Consultant Facebook-Recruitment
คุณมองเห็นเรื่องนี้อย่างไร
  • ร้องไห้

    0คน

  • ไม่สำคัญ

    0คน

  • ดีใจ

    0คน

  • ปรบมือ

    0คน

  • น่ากลัว

    0คน

Notice

1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม

แสดงความคิดเห็น
ค้นหา
อันดับ
รายการแท็ก
ติดตามเรา

สแกนเพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความคิดเห็นล่าสุด

    กรุณาติดต่อเรา

    โปรดกรอกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ แล้วเราจะติดต่อกลับโทรศัพท์

    คุณคือผู้เยี่ยมชมคนที่ 74727 ของเว็บไซต์นี้ วันนี้มีบทความใหม่ 0 บทความ