PDPA คืออะไร?
PDPA คืออะไร?
PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act คือเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายฉบับนี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือถูกนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ
พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ไม่ใช้บังคับกับกรณี ดังต่อไปนี้
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว
2. การดำเนินการของหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ
3. การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมไว้เฉพาะเพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรม
4. การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา หรือคณะกรรมาธิการ
5. การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนพิจารณาคดี
6. การดำเนินการกับข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตและสมาชิกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ เช่น ชื่อ-สกุล ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ Email
การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องมีการดำเนินการดังนี้
-เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอม
-ต้องแจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
-การยินยอม ต้องแยกออกจากส่วนอื่นชัดเจน
-มีแบบหรือข้อความที่อ่านแล้วเข้าใจได้โดยง่ายและต้องไม่เป็นการหลอกลวง
-เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้
ในการขอความยินยอมต้องคำนึงอย่างถึงที่สุดในความเป็นอิสระของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการให้ความยินยอม
ต้องไม่มีเงื่อนไขในการให้ความยินยอมเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่มีความจำเป็นหรือเกี่ยวข้องสำหรับการเข้าทำสัญญาซึ่งรวมถึงการให้บริการนั้นๆ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน
-เชื้อชาติ เผ่าพันธ์
-ประวัติอาชญากรรม
-ความคิดเห็นทางการเมือง
-ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ
-ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
-ข้อมูลสหภาพแรงงาน
-พฤติกรรมทางเพศ
-ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ
ความรับผิดและบทลงโทษ
ความรับผิดทางแพ่ง
-ผู้กระทำละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม
-ศาลมีอำนาจสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้สองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง
โทษทางอาญา
-กำหนดบทลงโทษทางอาญาไว้สำหรับความผิดร้ายแรง เช่น การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนโดยมิชอบ ล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นแล้วนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่นโดยมิชอบ
-ระวางโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล กรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นอาจต้องร่วมรับผิดในความผิดอาญาที่เกิดขึ้น
โทษทางปกครอง
-กำหนดโทษปรับทางปกครองสำหรับการกระทำความผิดที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เช่นไม่แจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ ขอความยินยอมโดยหลอกลวงเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
-โทษปรับทางปกครองสูงสุด 5,000,000 บาท
ที่มา: พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 และ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
0คน
ปรบมือ
0คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม